3472 จำนวนผู้เข้าชม |
วันนี้ผมมีเรื่องผัก ๆ มาเล่าให้ฟังครับ หลายคนคงต้องเคยเลือกผักที่มีรูกันใช่ไหมครับ ผมก็เคยเป็นคนนึงที่เวลาซื้อผัก จะเลือกผักที่มีรู เพราะคิดว่าหนอนกินได้ เราก็ต้องกินได้สิ ซึ่งไม่นานผมก็พบว่าจริง ๆ แล้วการเลือกผักมีรู ไม่ได้เวิร์คเท่าไหร่ และอาจจะทำให้เราได้รับสารพิษตกค้างเหมือนเดิม หรือมากกว่าเดิมด้วยครับ
“สารเคมี” เรื่องไม่ลับหลังสวน
อย่างที่เรารู้ ๆ กันอยู่นะครับ ว่าผัก ผลไม้ไม่น้อยในท้องตลาดมีสารพิษตกค้างจำนวนมาก เนื่องจากการใช้สารเคมีในการเกษตรที่แทบจะกลายเป็นเรื่องธรรมดา แม้ว่าต้นทุนจะสูงกว่าการทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ แต่ก็เหมือนกับว่าสารเคมียังตอบโจทย์อยู่ไม่น้อย นั่นก็เพราะปัญหาผัก ๆ ในสวนมันช่างหยิบย่อย สารเคมีช่วยแก้ปัญหาได้สบายขึ้นมากครับ
ในปัจจุบัน เรียกได้ว่าผักในท้องตลาดจะมีสารพิษตกค้างไม่มากก็น้อยครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มา และมาตรฐานรับรอง ว่ามีการตรวจสอบจริงจังแค่ไหน ซึ่งในทางปฏิบัติเราแทบจะไม่มีทางรู้ได้ เลยว่าผักที่เรากินมีสารพิษมากแค่ไหน ทำได้แค่ไว้ใจ จริง ๆ ครับ
เลือกผักด้วยสัญชาตญาน และการคาดเดา
เรามักจะเคยเห็นวิธีมากมายในการเลือกผักให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นดมกลิ่น ดูคราบยา หรือแม้กระทั่งการดูใบว่ามีร่องรอยการกัดกินของแมลงหรือไม่ ซึ่งมันก็อาจเป็นวิธีที่ใช้ได้บ้างครับ แต่ไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ สิ่งที่สำคัญมากคือ แหล่งที่มาของผักครับ ถ้าแหล่งที่มายังคงมีกรใช้สารเคมีเข้มข้น ผักมีรูก็สามารถต้มเราได้ครับ
“เอาไม่อยู่ กู่ไม่กลับ อัดซะเลย”
ประเด็นสำคัญ คือ ผักมีรูไม่ได้หมายความว่าไม่มีสารเคมี ยกตัวอย่างเคสที่พบได้บ่อยคือ แหล่งเกษตรบางแห่งที่มีการใช้สารเคมีหนัก ๆ เมื่อปลูกผักไปซักพักแล้วสารเคมีที่ฉีดไปตอนแรก เริ่มคุมศัตรูพืชไม่อยู่ ผักยังคงโดนแทะ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ จะต้องอัดสารเคมีเข้าไปเยอะ ๆ แน่นอนว่าปริมาณสารพิษตกค้างจะเยอะกว่าผักทั่วไปครับ ซึ่งเราก็จะดูได้ยาก เพราะเราไม่ทราบแหล่งที่มาของผักนั่นเอง
แต่ถึงยังไงการใส่ใจเลือกผักย่อมดีกว่าไม่เลือกเลย
ยังไงก็ตามการที่เราใส่ใจเลือกผักเป็นสิ่งที่ดีแล้วครับ แต่การเลือกจากรูอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถใช้ได้ร้อยเปอร์เซ็น วันนี้ผมมีข้อแนะนำสำหรับการเลือกผัก และการกินให้ปลอดภัยมาฝากกันครับ