คุยกับโลมาแค่มองตาก็รู้ใจ

8855 จำนวนผู้เข้าชม  | 

คุยกับโลมาแค่มองตาก็รู้ใจ

  หลายคนคงเคยได้ยินว่าโลมาเนี่ยเป็นสัตว์น้ำที่ฉลาดสุด ๆ แต่เคยสงสัยกันไหมครับว่าภายใต้ความฉลาดของเจ้าโลมาเนี่ยมีอะไรซ่อนอยู่ วันนี่เรามาไขข้อสงสัยกันครับ


สมองสุดพิเศษของโลมา  

  โลมาเป็นสัตว์ที่มีสมองส่วนพาราลิมบิก (Paralimbic) ก้าวหน้ายิ่งกว่ามนุษย์ มีเซลล์ประสาทมากกว่ามนุษย์ถึง 3 เท่า ทำให้โลมามีความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ซับซ้อนยิ่งกว่ามนุษย์และสัตว์อื่น ๆ และมีระบบประสาทในการรับเสียงที่พิเศษมาก ๆ ทำให้โลมารับเสียงได้กว้าง และไวมาก ๆ ครับ

ขอบคุณภาพจาก: Dolphinmagazine

ภาษาที่มองตาก็รู้ใจ

  ถึงโลมาจะมีความรู้สึกที่ลึกซึ้ง แต่โลมาแสดงอารมณ์แตกต่างจากมนุษย์นะครับ เพราะกล้ามเนื้อใบหน้าของโลมาดันวิวัฒนาการมาให้สอดคล้องกับการใช้เสียงหลากหลายคลื่นความถี่ โลมาจึงไม่สามารถแสดงอารมณ์ทางสีหน้า

แต่จะใช้อวัจนะภาษาในการแสดงอารมณ์ คนเราเวลาคุยกันจะสังเกตุการแสดงสีหน้าเวลาพูดคุย แต่เวลาโลมาคุยกันโลมาจะว่ายน้ำข้าง ๆ กันแสดงท่าทางด้วยกาย และมองตากันเพื่อสื่อสารอารมณ์น่ารักจริง ๆ ครับ 555+

พรสวรรค์ของโลมา

  โลมาเป็นสัตว์ที่สามารถใช้เสียงได้หลายคลื่นความถี่ อย่างที่รู้กันว่าโลมาสามารถใช้โซนาร์ในการหาวัตถุในน้ำได้ แต่หนึ่งในพรสวรรค์สุดพิเศษ คือ โลมาสามารถรับรู้ได้ถึงอัตราการเต้นของหัวใจหัวมนุษย์ มีบางเคสที่โลมาสามารถ “ประเมิน”ว่ามนุษย์กำลังตกอยู่ในอันตราย เช่น กำลังจะจมน้ำ และเข้าไปช่วยเหลือ

  นอกเหนือจากความเห็นอกเห็นใจ ยิ่งแสดงให้เห็นถึงการมี “ตรรกะ” ของโลมา เช่น การช่วยคนที่จมน้ำ ต้องประคองขึ้นมาเหนือน้ำ เพื่อให้มนุษย์ได้หายใจ โลมาจึงเป็นสัตว์ที่สามารถเข้าใจเหตุผลได้ครับ

 


“ถึงมนุษย์จะไม่สามารถเรียนรู้ภาษาโลมาได้ แต่บางครั้งการอยู่ร่วมกัน และเข้าใจกันก็ไม่จำเป็นต้องคุยภาษาเดียวกันเสมอไป”



ก้าวข้ามกำแพงแห่งธรรมชาติด้วย “ความเข้าใจ”

  แม้ภาษาจะเป็นอุปสรรคในการสื่อสาร แต่ก็มีเรื่องราวน่าประทับใจ ระหว่างโลมาและมนุษย์ ในเมือง ลากูน่า ประเทศบราซิล เมืองนี้เป็นเมืองประมงเก่าแก่ ที่เป็นแหล่งที่อยู่ของเหล่าโลมาปากขวด โลมาเหล่านี้มักจะกวาดต้อนฝูงปลากระบอกไปให้ชาวประมงหว่านแห โดยจะส่งสัญญาณด้วยการใช้ท่าทาง เพื่อบอกว่าให้ชาวประมงหว่านแห “เมื่อไหร่” และ “ที่ไหน” ยิ่งไปกว่านั้นยังบอกได้ว่า ฝูงปลาที่ต้อนใหญ่แค่ไหน และว่ายเร็วแค่ไหนได้ด้วยครับ

  คาดการณ์ว่ารหัสการสื่อสารเหล่านี้มีการส่งต่อถึงกันจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งในกลุ่มชาวประมงพื้นเมือง และ “กลุ่มโลมาท้องถิ่น” มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1850 มาเป็นอย่างน้อยครับ

  เป็นยังไงครับ โลมาเป็นสัตว์ที่ฉลาดมากกก แถมหน้าตายังแบ๊วอีก 5555 ใครที่อยากไปดูโลมานอกจากสวนสัตว์แล้วเนี่ย ช่วงปลายปียังมีเทศกาลดูโลมาที่ท่าข้าม จังหวัดฉะเชิงเทราด้วยนะครับ ถ้าใครเบื่อ ๆ ลองไปกันดูครับ


อ้างอิง
Santiago Castro, 2019. Do Whales and dolphins feel emotions and show empathy (Online).

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้